ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน(สิงห์คำคณานุกุล)
1. ประวัติโรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน (ปรับปรุงข้อมูล ตุลาคม 2564 )
🔸ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
🔸สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพฐ. ) กระทรวงศึกษาธิการ
🔸เนื้อที่
1 ) แปลงที่ 1 เลขที่โฉนด จำนวน 6 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวา
2 ) แปลงที่ 2 เลขที่โฉนด 25057 จำนวน 3 งาน 26.5 ตารางวา
3 ) แปลงที่ 3 เลขที่โฉนด 35000 จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา
4 ) แปลงที่ 4 เลขที่โฉนด 24561 จำนวน 1 ไร่ 1 งาน 34 ตารางวา
5 ) แปลงที่ 5 เลขที่โฉนด 34651 จำนวน 2 งาน
รวม 10 ไร่ 3 งาน 15.5 ตารางวา
การก่อตั้ง
โรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน เดิมเป็นโรงเรียนที่ทางวัดตั้งขึ้น โดย พระสิงห์คำ อินทนันโท เจ้าอาวาสวัดแม่ฮ้อยเงิน พร้อมด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร เมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2476 นายอำเภอดอยสะเก็ด ได้ตั้งเป็นโรงเรียนประชาบาล ขนานนามว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลแม่ฮ้อยเงิน 2” โดยมี นายดวงตา เจริญทรัพย์ เป็นครูใหญ่ สามเณร ชุ่มสลิดแก้ว เป็นครูน้อย มีนักเรียนจำนวน 80 คน (ก่อตั้งถึงปัจจุบันเป็นเวลา 88 ปี)
วันที่ 17 ตุลาคม 2487 นายชุ่ม สลิดแก้ว พร้อมด้วย นายทา พรหมขัติแก้ว นายสุข ตาจันทร์ดี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 นายถา ดาวเวียงกัน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 พร้อมด้วยเจ้าอาวาสวัดหิรัญญาวาส (แม่ฮ้อยเงินเหนือ) และวัดแม่ฮ้อยเงินใต้ ร่วมกับราษฎร หมู่ที่ 1 – 2 ได้บริจาคทรัพย์สร้างอาคารไม้ถาวรชั้นเดียว เป็นอาคารแบบ ป. 1 ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 17 เมตร สิ้นเงิน 10,161 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งร้อยหกสิบบาทถ้วน ) และได้ทำบุญฉลองเมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2491 ขนานนามโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน ( สิงห์คำคณานุกุล ) พ.ศ.2500 ทางราชการได้ย้าย นายประเสริฐ เดชคุณมากไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านม่วงโตนและย้าย นายผดุง สาริยาภรณ์ มาดำรงตำแหน่งแทน พร้อมกันนี้เจ้าอาวาสวัดหิรัญญาวาส (แม่ฮ้อยเงินเหนือ) และเจ้าอาวาสวัดแม่ฮ้อยเงินใต้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร ได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม อีก 1 หลัง ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 12 เมตร รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000 บาท ( หกพันบาทถ้วน )
วันที่ 20 กันยายน 2508 ทางราชการได้ย้าย นายผดุง สาริยาภรณ์ ไปเป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านม่วงโตน แล้วย้าย นายชุ่ม สลิดแก้ว มาดำรงตำแหน่งแทน ขณะนั้นจำนวนนักเรียนได้เพิ่มขึ้น นายชุ่ม สลิดแก้ว ครูใหญ่ พร้อมด้วยเจ้าอาวาสทั้ง 2 วัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎร ได้ช่วยกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นอีก 1 หลัง สิ้นเงิน 3,700 บาท ( สามพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน )
พ.ศ. 2508 นายชุ่ม สลิดแก้ว พร้อมด้วยเจ้าอาวาสวัดแม่ฮ้อยเงินใต้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการศึกษาได้พร้อมใจกันขอรับบริจาคที่ดินของพระอธิการอินตา คันธโก เจ้าอาวาสวัดหิรัญญาวาส (แม่ฮ้อยเงินเหนือ) เพื่อเตรียมย้ายโรงเรียนเนื่องจากที่คับแคบ จึงได้รับบริจาคที่ดินซึ่งเป็นที่นาของพระอธิการอินตาคันธโก เนื้อที่ จำนวน 6 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวา
วันที่ 7 มีนาคม 2511 โรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน ได้ย้ายมาอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านแม่ฮ้อยเงินเหนือ ซึ่ง พระอธิการอินตา คันธโก ได้บริจาคให้ และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณจากทางราชการ สร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ก. ตึกขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 63 เมตร จำนวน 8 ห้องเรียน พร้อมด้วยมุข อีก 1 ห้องงบประมาณ 200,000 บาท ( สองแสนบาทถ้วน ) ปัจจุบันยังใช้เป็นอาคารเรียนสอนชั้น ป. 1–6 (อาคารมีอายุงานถึงปัจจุบัน 2565 เป็นเวลา 54 ปี )
มกราคม พ.ศ. 2515 โรงเรียนได้สร้างอาคารเรียนอีก 1 หลัง แบบ ป. 1ข.ไม้ กว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนเงิน 35,000 บาท ( สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน ) ปัจจุบันได้รื้อถอนไปแล้ว และกรมอนามัยได้ให้งบประมาณ 10,500 บาท ( หนึ่งหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน ) สร้างประปาโรงเรียนและได้ทำบุญฉลองพร้อมอาคารเรียน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2515 เรียกว่า อาคารประชาสามัคคี ปีการศึกษา 2515 โรงเรียนได้รับอนุมัติเปิดขยายจัดการศึกษา ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7)
พ.ศ. 2518 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 32,000 บาท ( สามหมื่น สองพันบาท ) ปัจจุบันเป็นบ้านพักนักการภารโรง (สภาพทรุดโทรม)
พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูอีก 1 หลัง จำนวนเงิน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน ) (ปี 2553 ได้งบซ่อมแซมจากทางราชการ 96,000 บาท อยู่ในสภาพดี ด้านล่างใช้เป็นห้องหมวดพลศึกษา ชั้นบนเป็นบ้านพักของนักศึกษาฝึกสอน) และปี 2519 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ 017 ตึก จำนวนเงิน 320, 000 บาท (สามแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. 2521 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากทางราชการ สร้างโรงอาหารกว้าง 6 เมตรยาว 21 เมตร และส้วมอีก 1 หลังจำนวน 3 ที่นั่ง (ปัจจุบันส้วมได้รื้อแล้ว) จำนวนเงิน 320,000 บาท ( สามแสนสองหมื่นบาทถ้วน )
พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ 017 ตึก ต่อเติมอาคารเรียนเดิม (ชั้นล่าง 4 ห้องเรียน ) จำนวนเงิน450,000 บาท ( สี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน ) ได้ทำบุญฉลองอาคารเรียน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2523 เรียกชื่อว่า อาคารรัฐประสิทธิ์ ปัจจุบันเป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 ชั้นล่าง เป็นห้องปฏิบัติการทางภาษา , ห้องปฏิบัติวิทยาศาสตร์ , ห้องสมุดโรงเรียน และห้องสอนคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2528 ทางราชการ ได้อนุมัติปรับปรุงตำแหน่ง แต่งตั้งให้ นายน้อย ชัยมงคล ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และได้รับงบประมาณ ซ่อมแซมอาคารเรียนแบบ ป. 1 ก ตึก (8 ห้องเรียน) จำนวนเงิน 177,500 บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ. 2532 ผู้ปกครองและประชาชน ตำบลแม่ฮ้อยเงินได้ร่วมบริจาคเงิน สร้างรั้วด้านหน้าโรงเรียนยาว 98 เมตรรวมประตูเหล็กเลื่อน จำนวน 2 บาน งบประมาณทั้งสิ้นจำนวนเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน )
พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณจากทางราชการ สร้างสนามวอลเล่ย์บอล แบบ คสล. จำนวนเงิน 68,000บาท
พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ โรงเรียนดีเด่นของสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอดอยสะเก็ด
พ.ศ . 2538 โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศโรงเรียนดีเด่น ของเขตปฏิบัติการ เขต 2 ของจังหวัด และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทโรงเรียนดีเด่นของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากทางราชการปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษาเป็นจำนวนเงิน 44,824 บาท ( สี่หมื่นสี่พันแปดร้อยยี่สิบสี่บาทถ้วน ) และปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จำนวนเงิน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน ) ปีการศึกษา พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากทางราชการให้เปิดโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรก
พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากทางราชการ ปรับปรุงซ่อมอาคารเรียน แบบ ป. 1ก. ตึกจำนวนเงิน 48,250 บาท (สี่หมื่นแปดพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน ) ในปีเดียวกันนี้ได้รับงบประมาณ ก่อสร้างสนามบาสเกตบอล แบบ สปช. จำนวนเงิน 233,000 บาท (สองแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) ได้รับงบประมาณติดตั้งประปา จำนวนเงิน8,610 บาท (แปดพันหกร้อยบาทถ้วน) ได้รับงบประมาณ ก่อสร้างถังน้ำซีเมนต์ แบบ ฝ. 30 พิเศษ 1 ชุด (4 ถัง)จำนวนเงิน 81,000 บาท (แปดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบสปช.611/26 ขนาด 2 ที่นั่ง จำนวนเงิน 55,500 บาท (ห้าหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน )
พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณ ซื้อดินถมสนามโรงเรียนจาก อบต. แม่ฮ้อยเงินจำนวนเงิน 27,500 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) ได้รับงบประมาณสมทบจากกองทุนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน จำนวนเงิน 12,500 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน ) และได้รับบริจาคหินขนาด 3/8 เพื่อถมถนนในโรงเรียนจากบริษัทเชียงใหม่หยุ่นศิลา จำนวนเงิน 25,000 บาท ( สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน )
พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนแบบ ป. 1 ก. ตึก จากทางราชการ จำนวนเงิน195,100 บาท ( หนึ่งแสนเก้าหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน ) ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช. 611 / 26 จำนวน 1 หลัง ขนาด 2 ที่นั่ง จากทางราชการจำนวนเงิน40,000 บาท ( สี่หมื่นบาทถ้วน ) และได้รับงบประมาณก่อสร้างสนามกีฬา แบบกรมพลศึกษา จำนวน 1 สนาม จากทางราชการเช่นกัน จำนวนเงิน 100,000 บาท ( หนึ่งแสนบาทถ้วน ) นอกจากนี้ ได้รับบริจาคหินเพื่อปรับปรุงสภาพถนนในโรงเรียน จากบริษัทหยุ่นศิลา จำนวนเงิน 27,000 บาท ( สองหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน ) วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงาน กว้าง 5 เมตรยาว 10 เมตร 1 หลัง จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนเงิน 150,000 บาท ( หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน )ปัจจุบันเป็นห้องเรียนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
พ.ศ. 2551 โรงเรียนได้จัดทำอุทยานแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ครู นักเรียนและชุมชน ได้ศึกษาค้นคว้าจากสภาพจริง มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยจัดระบบสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ให้ร่มรื่นสวยงามและปรับปรุงพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จัดหาและวางระบบอินเตอร์เน็ต 30 พฤศจิกายน 2552 ได้รับการบริจาคที่ดิน ในท้องที่อำเภอสันทราย จำนวน 4 แปลง จากธนาคารไทยพาณิชย์ รวมทั้งสิ้น 2 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา ราคาประเมินจากกรมที่ดิน 2,896,000 บาท (สองล้านแปดแสนเก้าหมื่นหกพันบาทถ้วน) โดย นายนิวาส ธาตุอินจันทร์ ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้รับกรรมสิทธิ์
พ.ศ. 2552 ได้ปรับปรุงขยายอาคารเอนกประสงค์ (โรงอาหาร) ให้กว้างขึ้น และทำโต๊ะรับประทานอาหาร ติดตั้งพัดลม และได้รับงบประมาณจากทางราชการ ให้ปรับปรุงส้วม ตามโครงการส้วมสุขสันต์ 53,000 บาท
พ.ศ. 2552 - 2553 โรงเรียนส่งตัวแทนนักเรียนเข้าประกวดเพื่อขอรับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ประเภทนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก และได้เป็นตัวแทนจังหวัดเชียงใหม่ และได้รับรางวัลพระราชทานชมเชย อันดับ 1 ชื่อ เด็กหญิงชนันทร ดาวเลิศ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ระดับชาติการร้องเพลงลูกทุ่งไทย หญิงระดับประถมศึกษา การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 59
พ.ศ. 2553 (ปีงบประมาณ 2552) ได้รับงบประมาณ จากโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 ของรัฐบาล ในฐานะเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลแม่ฮ้อยเงิน ได้รับคอมพิวเตอร์ สำหรับการเรียนการสอน จำนวน 1 ชุด (CL 10) มีคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน 10 ชุด ของครู 1 ชุด พร้อมติดตั้งระบบแลนด์และอินเตอร์เน็ต เครื่องโปรแจ็คเตอร์ จำนวน 1 ชุด ราคา 337,000 บาท และได้ทอดผ้าป่าพัฒนาการศึกษา สร้างสวนสุขภาพ เป็นสถานที่ออกกำลังกายและสร้างถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่บริเวณถนนภายในโรงเรียน เป็นเงิน 73,000บาท
พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณ ซ่อมแซมบ้านพักครู 96,000 บาท และได้ปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียนด้านหน้า โดยการสร้างน้ำตกจำลองและสร้างศาลาไทย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้อีกแห่งหนึ่งโดยได้รับงบประมาณจากสำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงใหม่ 12,000 บาท เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังทดแทนด้านพลังงานทดแทน(อุทยานการเรียนรู้ ต่อสู้ภาวะโลกร้อน) ได้รับงบประมาณ โรงเรียนดีประจำตำบล ซ่อมแซมโรงอาหาร โดยได้รับเงินจากงบประมาณ 50,000 บาท ได้รับเงินจากการทอดผ้าป่า32,000 บาท และเงินงบประมาณในแผนการใช้เงิน 21,000 บาท รวม 10, 3000 บาท
พ.ศ. 2554 นักเรียนพิเศษเรียนร่วม (LD) ได้รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง ระดับ ชาติ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมเพ้นท์ การแข่งศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 61
ปี พ.ศ. 2555 ได้รับเงินงบประมาณ โครงการ “โรงเรียนดี ศรีตำบล” รุ่นที่ 3 จำนวน 752,610 บาทเพื่อดำเนินพัฒนาปรับปรุง อาคารเรียน อาคารประกอบและครุภัณฑ์การศึกษาและได้ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการของ สพฐ. เมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556
ปี พ.ศ. 2556 ได้ปรับปรุงห้องสังคมศึกษา ได้รับงบจากการบริจาคชุมชน 49,000 บาทและสร้างศูนย์ การเรียนสู่ทักษะชีวิต 66,000 บาท จากการสนับสนุนของ มูลนิธิเสริมกล้า
ปีการศึกษา 2556 นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการแข่งศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 63 ระดับภาคเหนือ ณ จังหวัด เพชรบูรณ์ ได้แก่ เหรียญทอง 2 เหรียญ ได้แก่ การจัดสวนถาดแห้งและนาฏศิลป์ไทยอนุรักษ์ ระดับชั้นมัธยม เหรียญเงิน 2 เหรียญ ได้แก่ การวาดภาพ จากโปรแกรมเพ้นท์ และการบายศรีปากชาม
ปี พ.ศ. 2557 ได้ก่อสร้างห้องน้ำ 4 ที่นั่ง จากงบการทำบุญครบรอบ 81 โรงเรียน งบประมาณ 65,000 บาท
ได้รับงบประมาณ ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเอนกประสงค์ (โรงอาหาร) 140,000 บาท ติดตั้งฝ้าเพดาน
ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซม อุทยานการเรียนรู้ 156,000 บาท
ปีการศึกษา 2557 นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการแข่งศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ระดับภาคเหนือ ณ จังหวัดแพร่ ได้แก่ เหรียญทอง 2 เหรียญ ได้แก่ การจัดสวนถาดแห้งและนักร้องเพลงไทยลูกทุ่ง (เด็กพิเศษเรียนร่วม)
22 ตุลาคม 2558 นายกิตติพงษ์ บัวลอยลม (ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านป้อก อ.เชียงดาว) ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน แทน นายนิวาส ธาตุอินจันทร์ และได้ร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาฯ ศิษย์เก่า คณะครู ผู้ปกครอง ประชาชน หล่อรูปเหมือนครูบาสิงห์คำ อินฺทนนฺโท และครูบาตา คนฺธโก ผู้ก่อตั้งโรงเรียน และผู้บริจาคที่ดินให้กับโรงเรียนด้วยทองสัมฤทธิ์
2 มิถุนายน 2559 นายไมตรี ธินะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าป้อง ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน แทนนายกิตติพงษ์ บัวลอยลม ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าป้อง
1 สิงหาคม 2559 วันครบรอบ 83 ปี การก่อตั้งโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาฯ ศิษย์เก่า คณะครู ผู้ปกครอง ประชาชน ได้ร่วมกันอันเชิญรูปเหมือนครูบาสิงห์คำ อินฺทนนฺโท และครูบาตา คนฺธโก ผู้ก่อตั้งโรงเรียน และผู้บริจาคที่ดินให้กับโรงเรียนประดิษฐานข้างเสาธงโรงเรียนเพื่อเป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาและเป็นศิริมงคลแก่คณะครู นักเรียน และชุมชน
16 กันยายน 2559 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมไฟฟ้า 476,000 บาท
13 ธันวาคม 2559 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมบ้านพักครู 2 หลัง 400,000 บาท
ธันวาคม 2561 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมหลังคาอาคาร แบบ 017 ตึก จำนวนเงิน 200,000 บาท
25 กันยายน 2562 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมบ้านพักครูเพิ่มเติม 1 หลัง จำนวนเงิน 50,000 บาท
11 สิงหาคม 2562 ได้รับงบประมาณจากผ้าป่าสามัคคี (ศิวิไลซ์บ้านยา) จำนวนเงิน 225,000 บาท เพื่อต่อเติมห้องเรียนใต้ถุนอาคารแบบ สปช.105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน
12 กันยายน 2563 ได้รับงบประมาณจากผ้าป่าสามัคคี (ศิวิไลซ์บ้านยา) จำนวน 75,000 บาท เพื่อปูกระเบื้องใต้ถุนอาคารแบบ สปช.105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน
14 ตุลาคม 2564 นายกฤษฎา ชินะใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเลา ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ฮ้อยเงิน แทนนายทรงวุฒิ สืบไชย ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแม่โป่งประชาสามัคคี
2. วิสัยทัศน์โรงเรียน
โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ก้าวทันเทคโนโลยี ผู้เรียนเป็นคนดี มีสมรรถนะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างยั่งยืน